Tuesday, August 23, 2011

ร่วมกัน ลด ละ เลิก hate speech เพื่อประเทศไทยกันเถอะ

สังคมไทย ใน fb ช่วงหลังการเลือกตั้ง ก็ยังคงเหมือนเดิม มี hate speech ปนกับ free speech

ที่ตลกที่สุดคือ การพูดประชด ประชัน ฝ่ายตรงข้าม แล้วบอกว่าเป็นเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น

ร่วมกัน ลด ละ เลิก hate speech เพื่อประเทศไทยกันเถอะ

อะไรเป็นพรมแดนระหว่าง free speech กับ hate speech ?

ดร. โสรัจจ์ กล่าวว่า "เสรีภาพในการพูดแสดงความคิดเห็น หรือ ′free speech′ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย" การประกันเสรีภาพดังกล่าวมีประโยชน์ คือเป็นการเปิดโอกาสให้แนวคิดต่างๆ "เกิดขึ้นและไหลเวียนอย่างเสรี" ส่วนในเรื่อง hate speech นั้น ดร. โสรัจจ์ได้อ้างคำนิยามที่ว่า hate speech คือ "การสื่อสารไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆก็ตาม ที่เป็นการดูถูกกลุ่มคนหรือกลุ่มบุคคลใดๆ บนพื้นฐานของลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนหรือบุคคลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง สีผิว เพศ ชนชาติ ศาสนา หรือลักษณะเฉพาะอื่นๆ" และ hate speech นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่มากในโลกตะวันตก

"ในแต่ละสังคมนั้นมีhate speechที่ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่นในโลกตะวันตกที่มีคำดูถูกผู้หญิงเอเชีย หรือการพูดว่า ′ทุกคนที่เลือกพรรคก. เป็นคนโง่ ไม่จงรักภักดี′ ในบ้านเรา"


ดร.โสรัจจ์กล่าวว่า ทั้งนี้เมื่อมี free speech ก็ย่อมมีผู้คนที่ใช้เสรีภาพนี้สร้าง hate speech ขึ้นมา ดังนั้น "อะไรเป็นพรมแดนระหว่าง hate speech กับ free speech?" "เราควรออกกฏบังคับ hate speech หรือไม่?" ดร.โสรัจจ์ตั้งคำถามชวนคิดดังกล่าว

"อะไรที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยจะตายไปเองโดย ธรรมชาติ การไปควบคุม โดยเฉพาะการไปมีกฏหมายลงโทษอาจก่อให้เกิดกระแสโต้กลับหรือก่อให้เกิดการท้า ทายกฏหมายนั้น ซึ่งทำให้วัตถุประสงค์ในการมีกฏหมายนั้นๆเป็นไปในทางตรงกันข้าม"

ถัดมา ดร.พิรงรอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ ได้กล่าวถึงบทบาทในเรื่อง free speech และ hate speechของสื่อว่า "นิวมีเดีย" หรือ "สื่อใหม่" ไม่ได้หมายถึงเพียงสื่อออนไลน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเคเบิลทีวี และวิทยุชุมชนด้วย และกล่าวถึงกฏหมายสากลที่ให้ความคุ้มครอง free speech ว่ามีหลายกฏหมาย เช่น "ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ19"

ดร.พิรงรอง กล่าวว่า hate speech และ hate crime นั้นมีความสัมพันธ์กัน เช่น hate speech ของฮิตเลอร์ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว hate speech ของกลุ่ม Klu Klux Klan ได้ปลุกปั่นให้ทำให้คนผิวดำเป็นจำนวนมากถูกฆ่าตาย


นอกจากนี้ ดร.พิรงรอง ยังได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อใหม่อย่างอินเตอร์เน็ตว่า อินเตอร์เน็ตเป็นพื้นที่ใหม่ที่ทำให้การเผยแพร่ hate speech เป็นไปอย่างง่ายดาย การเป็นนิรนามบนอินเตอร์เน็ตเปิดช่องให้ผู้คนสามารถปิดบังตัวตนในการแพร่ กระจาย hate speech ซึ่งจะทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ พร้อมทั้งยังยกตัวอย่างกฏหมายควบ คุม hate speech ของต่างประเทศ เช่นในแคนาดาที่กำหนดให้ hate speech เป็นสิ่งผิดกฏหมาย รวมทั้งในเยอรมันและออสเตรียที่ห้ามเผยแพร่ hate speech บางประเภทโดยสิ้นเชิง


No comments:

Post a Comment